Babekits Shop ขอแสดงความยินดีกับคุณแม่มือใหม่ นะคะ ^^

เมื่อปฏิบัติภารกิจสำเร็จ อิอิ เข้าใจว่าคุณแม่ย่อมจะตื่นเต้น และอยากรู้ว่า เจ้าตัวน้อยในท้อง มี พัฒนาการ หรือเติบโตอย่างไร รวมถึงคุณแม่ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง เพื่อให้เจ้าตัวน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ที่สุด พร้อมจะออกพบหน้าในอีก 9 เดือนข้างหน้า

วันนี้ แม่ค้ารวบรวมข้อมูล แบบย่อๆ มาให้แล้วจ้า มาดูกันเลย

นับแต่คุณแม่รู้ตัวว่าท้อง เจ้าตัวน้อย ก็จะมีอายุอย่างน้อยๆ 3 สัปดาห์ ขึ้นไปแล้ว เพราะคุณหมอจะนับอายุเจ้าตัวน้อย ตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มี (ซึ่งตอนนั้น คุณแม่ ยังไม่ได้ปฏิบัติภารกิจกับคุณพ่อ เลย :P ) เพราะคุณแม่บางคนมีลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่รู้วันที่กุ๊กกิ๊กกับคุณพ่อ คุณหมอจะไม่สามารถคาดเดา วันที่เจ้าตัวน้อยคลอดได้ ดังนั้น คุณหมอจึงใช้วันแรกของประจำเดือนคุณแม่ครั้งสุดท้ายที่มี เป็นวันเริ่มต้น และนับไปอีก 40 สัปดาห์ คะ (เวลาก่อนกุ๊กกิ๊ก 2 สัปดาห์ + เวลาที่เจ้าตัวน้อยอยู่ในครรภ์ 38 สัปดาห์ = 40 สัปดาห์)

เราจะแบ่งช่วงการตั้งครรภ์ ออกเป็น 3 ช่วง หรือ ไตรมาส โดยแบ่งเป็น

ไตรมาสที่ 1 ( 0-3 เดิอน) เป็นช่วงที่เจ้าตัวน้อยกำลังเจริญเติบโต สร้างอวัยวะสำคัญต่างๆ ช่วงนี้คุณแม่ควรงดการเดินทาง หรือการออกกำลังกายหนักๆ เพราะอาจมีผลต่อการเจ้าตัวน้อยได้คะ

ไตรมาสที่ 2 (3-6 เดือน) ช่วงนี้เป็นช่วงที่เจ้าตัวน้อยกำลังเพิ่มความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ รวมถึงเพิ่มขนาดตัวด้วยคะ คุณแม่สามารถเดินทางที่ไม่หนักจนเกินไป ได้ ในช่วงนี้คะ

ไตรมาสที่ 3 (6-9 เดือน) ช่วงเดือนนี้ อวัยวะของเจ้าตัวน้อยเริ่มเข้าที่ แต่จะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ดังนั้น ไม่แนะนำให้คุณแม่เดินทาง หรือ ออกกำลังการหักโหม ซึ่งจะไปมีผลต่อเจ้าตัวน้อย ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเฉพาะเมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด เพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไปพบแพทย์ คะ

 

เดือนแรกของการตั้งครรภ์

เจ้าตัวน้อย กำลังค่อยๆก่อตัว และเจริญเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ ภายในถุงน้ำคร่ำ มีการเพิ่มของจำนวนเซลล์ ซึ่งจะกลายเป็น มือ แขน ขาน้อยๆ มีการสร้างรก และสายสะดือ ซึ่งเป็นทางลำเลียงอาหารจากคุณแม่สู่ลูก และขับเอาของเสียจากลูกไปหาคุณแม่ เจ้าตัวน้อย มีขนาดประมาณ ¼ นิ้ว แล้วคะ ว้าวๆๆ

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ คุณแม่บางคนจะมีอาการ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน มีเลือดออกกะปริดกะปรอย เนื่องจากตัวอ่อนฝังตัว ถ้าคุณแม่สงสัยว่าท้องหรือไม่ สามารถซื้อที่ตรวจตั้งครรภ์ มาทดสอบดูได้คะ ความแม่นยำ 90% เชื่อถือได้ หรือถ้าไม่แน่ใจ ก็ตรวจซ้ำดูเพื่อความแน่ใจก็ได้คะ^^ ที่ตรวจจะวัดจากระดับฮอร์โมน HCG (Human chorionic gonadotropin) ซึ่งจะพบในหญิงตั้งครรภ์ อย่างน้อย 6 วัน นับจากวันที่กุ๊กกิ๊กกับคุณสามีคะ แต่บางคนฮอร์โมนอาจจะยังไม่มาก จึงตรวจไม่เจอว่าตั้งครรภ์ จะให้แน่ใจ ควรจะตรวจ ช่วง 8-12 สัปดาห์ ฮอร์โมนจะขึ้นสูงสุด แต่คุณแม่จะเสียโอกาสบำรุงเจ้าตัวน้อยในช่วงระหว่างที่รอเวลา แม่ค้าแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจปัสสาวะเลยคะ เพราะถ้าท้องจริงๆ เราจะได้รีบบำรุงเจ้าตัวน้อย เพราะอีกไม่ช้าสมองเจ้าตัวน้อยก็จะเกิดและพัฒนาขึ้นแล้วคะ

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ ช่วงนี้คุณแม่ทานอาหารเพิ่มขึ้น (เพิ่มอีกประมาณ 1/3 ของที่กินอยู่) ขอเน้นว่าอย่ากินเยอะเกินไปคะ เพราะเจ้าตัวน้อยยังไม่ต้องการปริมาณสารอาหารมาก แต่ต้องการให้ครบทุกหมู่คะ ไม่เช่นนั้น สิ่งที่คุณแม่กินเข้าไปจะยังคงสะสมอยู่ในตัวคุณแม่ เมื่อคลอดเจ้าต้องน้อยออกไปแล้ว สุดท้ายต้องมาปวดหัวกับการลดน้ำหนักทีหลังคะ >_<

เราจะรู้ว่าอาหารที่ทานเข้าไป มากพอมั้ย? ดูได้จากน้ำหนักตัวคุณแม่คะ น้ำหนักไม่ควรจะขึ้นเกิน ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือ 2 กิโลกรัมต่อเดือน

เมื่อคุณแม่พบแพทย์ และฝากครรภ์เรียบร้อยแล้วจะได้รับวิตามินรวม และ โฟลิคแอซิด มา (จริงๆ เริ่มทานก่อนท้อง สัก 3 เดือนก็ได้) เพื่อกันการภาวะโลหิตจางของคุณแม่ รวมถึง ความพิการทางสมองและไขสันหลัง ของทารกในครรภ์ วิตามินเสริมตัวนี้ คุณแม่จะต้องทานไปจนกว่าเจ้าตัวน้อยจะคลอดออกมาเลยทีเดียว

เดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์

ในช่วงเดือนนี้ ทารกจะมีการเจริญเติบโตที่เร็วมาก เริ่มเป็นรูปเป็นร่างคร่าวๆให้เห็น หัวโตมีจุดดำซึ่งก็คือตา กับรูจมูก มีตุ่มเล็กๆป้อมๆที่ตัว ซึ่งก็คือแขนขานั่นเองคะ หัวใจของเจ้าตัวน้อยเริ่มทำงาน เต้นถี่ถึง 100-160 ครั้งต่อนาที อาจได้ยินเสียงหัวใจเต้น เมื่อตรวจด้วย Ultrasound คะ ส่วนตับก็เริ่มฟอกเซลล์เม็ดเลือดแดงแล้ว ปลายเดือนนี้ เจ้าตัวน้อยจะมีขนาดประมาณ ½-1 นิ้ว แล้วคะ ^^

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้คุณแม่มีอาการเหนื่อยง่าย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ คัดเต้านม หัวนมเริ่มมีสีคล้ำขึ้น เปรี้ยวปาก อยากทานอาหารแปลกๆ อารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ ไม่ค่อยได้ เจ็บหน้าอก และหน้าอกจะขนาดใหญ่ขึ้น (จนกว่าจะคลอด ไซส์หน้าอกจะเพิ่มขึ้น 1-2 คัพ เลยละคะ ^O^ ) ขนาดมดลูกเริ่มขยายตัวเป็น 2 เท่า เพื่อรองรับขนาดเจ้าตัวน้อยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คุณแม่จะปวดฉี่บ่อย เพราะมดลูกเริ่มไปกดทับกระเพาะปัสสาวะคะ คุณแม่บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อย อันเนื่องมาจากการบีบตัวของมดลูกร่วมด้วย

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ สำหรับคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง ควรหาขนมปังแครกเกอร์แบบเค็มๆไว้ข้างเตียงนอนเสมอ เมื่อคุณแม่ตื่นขึ้นมาตอนเช้าให้ทานทันที แล้วนอนต่อสัก 15 นาทีก่อนจะลุกขึ้น เพราะอาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากที่คุณแม่เพิ่งตื่นนอนและท้องว่างคะ นอกจากนี้ คุณแม่ควรออกกำลังกายเบาๆเพื่อเตรียมแบกรับน้ำหนักที่กำลังจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุก เดือน เช่น การเดิน (สัก 15-20 นาที) หรือ ว่ายน้ำ ก็ได้คะ และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ท้องว่าง เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน คุณแม่ควรรับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ สักมื้อ 5 – 6 มื้อต่อวัน ดื่มน้ำให้มาก ตัวช่วยอีกทางที่จะลดอาการคลื่นไส้ก็คือ วิตามิน B complex หรือ B6 อาจขอคุณหมอตอนไปตรวจครรภ์ หรือหาซื้อได้ตามร้านขายยาคะ

สำคัญที่สุด คุณแม่ห้ามทานยา หรืออาหารเสริม โดยไม่ได้ศึกษา หรือถามคุณหมอก่อนนะคะ เพราะยาบางตัว มีผลต่อลูกน้อย อาจร้ายแรงจนถึงแท้งได้เลยทีเดียว้

ข้อควรระวัง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการตนเอง ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ อาจเกิดการท้องนอกมดลูกได้ โดยการที่ตัวอ่อนไปฝังตัวในที่อื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ หรือในช่องท้อง จะมีอาการเลือดออกกระปริดกระปรอยอยู่เรื่อยๆ และมีอาการปวดท้องซึ่งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งทนไม่ไหว ซึ่งถ้าเกิดการท้องที่ท่อนำไข่แล้วท่อนำไข่แตก เลือดจะไหลเข้าไปในช่องท้องทำให้เสียเลือดมากจนอาจช็อกหมดสติได้ คุณหมอสามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นได้โดยการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมน hCG และตรวจอัลตร้าซาวด์เปรียบเทียบจะไม่พบถุงน้ำคร่ำในโพรงมดลูก การวินิจฉัยที่แน่ชัดทำได้โดยการส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง Laparoscopy การวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นมากคะ

 

เดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์

เจ้าตัวน้อยมีหัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง เต้น 120-160 ครั้งต่อนาที ลิ้นกับฟันเล็กๆก็เริ่มงอกมาใต้เหงือกบ้าง นิ้วมือเล็กๆของทารกกำลังกำและแบได้แล้ว แขนและมือจะมียาวกว่าขา เล็บก็เริ่มงอกขึ้นมาบนนิ้วมือและนิ้วเท้า และเส้นผมบางๆรวมทั้งขนอ่อนๆก็เริ่มขึ้นแล้วคะ ศีรษะเด็กจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว เจ้าตัวน้อยมีความยาว มากกว่า 1 ½ นิ้ว มีการขยับเคลื่อนไหว ยืดแขนขาเหมือนบิดขี้เกียจได้บ้าง เริ่มดิ้นไปมาเป็นการตอบโต้กลับมาให้เรารู้สึกตัว บางครั้งยังอาจรู้สึกได้ถึงอาการสะอึกของเจ้าตัวน้อยด้วยคะ อวัยวะเพศเริ่มขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถเช็คได้ว่าเป็นเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาแค่เล็กน้อย เฉลี่ยเดือนละ 2 กิโลกรัม ถ้ามากกว่านี้ต้องควบคุมอาหารนะคะ ^^ เราจะได้ยินเสียงหัวใจเจ้าตัวน้อยเต้นถี่ๆผ่านเครื่องช่วยฟังแบบอัลตราซาวน์ตอนที่เอาไปแนบกับท้องเรา อาการคลื่นไส้ก็เริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่จะเริ่มท้องผูกแทน มีบ้างที่รู้สึกแน่นหน้าอกมากขึ้น เพราะมีกรดในกระเพาะมากเกินไป คุณแม่บางคนต้องเปลี่ยนไซส์เสื้อผ้าให้ใหญ่ขึ้น เพราะขนาดหน้าอก และท้อง เริ่มขยายตัวคะ

อีกหนึ่งความกังวล ของคุณแม่ทั้งหลาย เรื่องท้องลาย เราสามารถป้องกันด้วยการทาครีมชนิดเข้มข้นและนวดเบาๆ ให้ทั่วบริเวณท้อง ต้นขา หน้าอก ก้น ทาบ่อยๆได้ยิ่งดี หากผิวที่แตกจะทำให้คันแต่ไม่ควรเกาเพราะจะทำให้ท้องลายมากขึ้นคะ เพราะท้องลายเกิดจากการที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องมีการขยายออกอย่างรวดเร็ว ผิวหนังที่ไม่มีความยืดหยุ่น ดีพอก็จะแตกลายได้ จะทำให้คันยิ่งถ้าไปเกาท้องก็จะลายมากขึ้น และเมื่อคลอดผิวหนังมีการหดกลับลงอย่างรวดเร็วก็จะทำให้ลายมากขึ้นเหมือนคนที่อ้วนแล้วผอมอย่างรวดเร็ว แต่คุณแม่ไม่ทุกคนที่จะต้องท้องลาย ขึ้นอยู่กับสภาพผิวหนังของแต่ละคนด้วยคะ ^^

เดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์

และแล้วก็ถึงเดือนที่คุณพ่อคุณแม่รอคอย ^O^ เจ้าตัวน้อยจะเป็นลูกชาย หรือลูกสาว รอลุ้นมาตั้งนานเราจะได้รู้กันเดือนนี้ละคะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าตัวน้อย ว่าจะให้ความร่วมมือมั้ย ถ้าเจ้าตัวน้อยอยู่ในมุมที่บังเพศก็ต้องอดใจรอไปอีกเดือนคะ อิอิ

เดือนนี้ เจ้าตัวน้อยมีขนคิ้วและขนตาเริ่มงอก ลายนิ้วมือขึ้นที่นิ้วมือเล็กๆของเขาแล้ว เริ่มกระพริบตา ขมวดคิ้ว ทำหน้าตาบู้บี้ เริ่มฉี่และดูดนิ้วได้แล้ว ไตก็เริ่มผลิตปัสสาวะ และขับออกมาทิ้งภายในถุงน้ำคร่ำ เริ่มรับรู้เกี่ยวกับแสง ถ้าคุณแม่ส่องไฟไปที่หน้าท้อง เจ้าตัวน้อยจะพยายามหนีห่างจากแสงนั้นคะ ตอนนี้เจ้าตัวน้อยขนาดพอๆกับผลอะโวคาโด หรือ ประมาณ 4 ½ นิ้ว

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ เข้าถึงเดือนที่ 4 คุณแม่ก็คลายความกังวลไปได้เยอะคะ เพราะอัตราเสี่ยงต่อการแท้งน้อยลงกว่าตอนตั้งท้องใหม่ๆ มดลูกขยายตัวขึ้นมาที่ด้านบนได้ครึ่งทาง และยื่นออกมาจนเห็นได้ชัด คุณแม่ควรเริ่มมองหาชุดคลุมท้อง หรือชุดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หน้าอกยังคงขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มผลิตน้ำนม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวน้อย อาการแพ้ท้องจะลดลง รู้สึกดีขึ้นในช่วงเดือนนี้ แต่มีอาการที่คงอยู่เช่น แน่นท้อง ท้องผูก ปวดศีรษะ นอกจากนั้นยังมีอาการที่เกิดขึ้นใหม่ เช่นคัดจมูก เลือดกำเดาไหล หูอื้อ เลือดออกตามไรฟัน หลังเท้าบวมเล็กน้อย เส้นเลือดขอดที่ขา อาจจะมีริดสีดวงทวาร ตกขาว ในระยะนี้คะ ถ้าคุณแม่คนไหนรู้สึกว่าเจ้าตัวน้อยเริ่มดิ้นแล้ว คุณหมอจะให้จดดูจำนวนครั้งการดิ้น และช่วงเวลาการดิ้นในแต่ละวัน เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีอาการแทรกซ้อนไปถึงเจ้าตัวน้อยคะ

เดือนที่ 5 ของการตั้งครรภ์

มาถึงครึ่งทางแล้วคะ ตอนนี้เจร้าตัวน้อยยาวประมาณ 6 นิ้วแล้ว ถ้าเขาเป็นผู้หญิงร่างกายก็จะเริ่มสร้างมดลูกขึ้นมา แต่ถ้าเป็นเด็กผู้ชายอวัยวะเพศของเขาก็จะเริ่มเห็นเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้น ที่สำคัญ เค้าเริ่มได้ยินเสียงของเราแล้วคะ คุณพ่อคุณแม่ สามารถคุยกับลูกด้วยเสืยงดังๆ จะอ่านนิทาน หรือร้องเพลงให้ฟังก็ได้นะคะ ^^

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ คุณแม่เริ่มท้องโย้ไปด้านหน้า เวลาเดินควรจะระวังตัวมากขึ้น จะเอามือรองท้องด้านหน้า หรือมาแบกน้ำหนักด้านหลังก็ได้คะ ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูงเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย และช่วยเรื่องอาการปวดหลัง-ปวดขาของคุณแม่คะ

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการลุกขึ้นยืนพรวดพราด หรือถ้านอนอยู่ก็อย่าลุกนั่งเร็วเกินไปนะคะ เพราะอาจหน้ามืดได้ง่าย จากเดือนนี้ไปท่านอนที่เหมาะสม ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวขึ้นก็คือท่านอนตะแคงข้าง เพราะท่านอนหงายอาจทำให้มดลูกไปกดทับเส้นเลือด ทำให้เรารู้สึกอึดอัด ปวดท้อง ท้องอืดได้ เวลานอนหงายให้หาหมอนนุ่มๆ มารองตรงสะโพก หลัง และเท้าเอาไว้ด้วย จะได้รู้สึกนอนสบายตัวขึ้นนะคะ

ในเดือนนี้ คุณแม่บางคนอาจดูผิวคล้ำขึ้น เพราะเม็ดสีมีการสร้างสีผิวไม่สม่ำเสมอชั่วคราว อาจทำให้ริมฝีปากด้านบน หัวนม ต้นขาด้านใน รักแร้ และปากช่องคลอดดูคล้ำขึ้น เริ่มมีฝ้ากระ เหมือนมีรอยแผลเป็น ส่วนแก้มกับหน้าผากอาจจะดูซีดๆ และสิ่งที่ผู้หญิงหลายคนกลัวก็คือหน้าท้องเริ่มลายแล้วค่ะ ถ้าไม่อยากให้เป็นรอยรีบป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆนะคะ ^^ อย่าลืมหลีกเลี่ยงแสงแดด เพราะจะเป็นตัวเร่งให้เม็ดสีในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นด้วยคะ

ช่วงตั้งท้องเป็นเวลาที่ร่างกายเราต้องการธาตุเหล็กมากกว่าปกติ เพราะจะต้องใช้ธาตุเหล็กในการสร้างการเจริญเติบโตของเลือด เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อยและรก แนะนำว่าให้คุณแม่ทานเนื้อสัตว์ที่เป็นแหล่งรวมธาตุเหล็ก เช่น พวกเป็ดไก่ หรือสัตว์น้ำที่มีเปลือก อย่างกุ้ง หอย คะ

 

เดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์

เจ้าตัวน้อยเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้น ระบบประสาทเริ่มทำงาน สมองของเขากำลังเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้รสชาติต่างๆได้แล้วคะ คิ้วและเปลือกตาก็เติบโตเต็มที่ ผิวหนังอาจจะดูเหี่ยวย่น แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ ถ้าเมื่อไหร่ที่ไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังมีจำนวนมากขึ้นผิวของเจ้าตัวน้อยก็จะกลับมาเรียบเนียนเหมือนปกติคะ เดือนนี้เจ้าตัวน้องมีขนาด12 นิ้ว และเริ่มได้ยินเสียงที่ดังมาก ได้ชัดเจนมากขึ้นคะ

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ เดือนนี้ คุณแม่จะมีหน้าอกที่ขยายเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับก่อนท้อง แนะนำให้หาชุดชั้นในที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรืออาจเลือกบราสำหรับให้นม ไว้เลยคะ จะได้ไม่ต้องเปลืองซื้ออีกรอบหลังคลอด โดยกะไซส์ให้สามารถเพิ่มรอบอกได้อีก 2 ระดับคะ การเลือกชุดชั้นในจะมีผลต่อสุขภาพคุณแม่ได้คะ เพราะขอบของชุดชั้นในที่เล็กไป จะไปกดทับเส้นเลือดทำให้เลือดไหวเวียนไม่ดี และเป็นที่มาก็อาการเมื่อยและเจ็บปวดต่างๆ

สิวที่ใบหน้า ก็จะเริ่มเกิดขึ้น เพราะต่อมไขมันใต้ผิวหนังเริ่มผลิตน้ำมันมากขึ้น ให้หมั่นล้างหน้าให้สะอาดวันละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย อย่าใช้ยาแก้สิวเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะจะมีผลกระทบกับเจ้าตัวน้อยคะ

เกิดอาการบวมน้ำขึ้น ที่ข้อเท้าและเท้า อาการบวมจะดูมากขึ้นเรื่อยๆทุกสัปดาห์ต่อจากนี้ไป โดยเฉพาะตอนหัวค่ำของวันหรือช่วงวันที่อากาศค่อนข้างร้อน เพราะช่วงนี้การหมุนเวียนของเลือดมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีการกักเก็บน้ำในบางส่วนของร่างกายเพิ่มขึ้น วิธีแก้ คือ ยกเท้าให้สูงขึ้นทุกครั้งที่มีโอกาส ยืดเหยียดตรงระหว่างที่นั่งอยู่ และหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ และพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเข้าไว้ เพื่อให้การไหลเวียนของน้ำในร่างกายดีขึ้นคะ

 

เดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์

เจ้าตัวน้อยของเรามีหน้าตาใกล้เคียงกับทารกแรกเกิดแล้วคะ ขนาดตัวยาวประมาณ  14 ½ นิ้ว สามารถแยกแยะได้ว่าอันนี้เสียงคุณแม่ อันนี้เสียงคุณพ่อเมื่อเวลาที่เราคุยกันได้ด้วย เริ่มลืมและหลับตาได้ เริ่มมองเห็นได้ลางๆตั้งแต่อยู่ในมดลูก ปอดก็เริ่มทำงานตามระบบมากขึ้น และบางทีคุณแม่อาจจะรู้สึกได้เวลาที่เจ้าตัวน้อยสะอึก ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติคะ

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองอุ้ยอ้ายมากขึ้น รู้สึกปวดตั้งแต่กลางหลังไล่ลงมานั่นก็เป็นเพราะมดลูกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น มาดันกระบังลมทำให้หายใจได้สั้น ๆ นอนหลับไม่ได้เต็มที่จากการที่เจ้าตัวน้อยในครรภ์ตื่น และตัวมดลูกเองก็จะบีบตัวเป็นระยะห่าง ๆ กัน และรู้สึกเมื่อย โดยเฉพาะช่วงค่ำๆของแต่ละวัน การเดิน ยืน หรือนั่งนานๆเกินไปจะทำให้ยิ่งปวดหลังมากขึ้น เพราะเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆต้องคอยพยุงรับน้ำหนักที่มากขึ้นนี้อย่างต่อเนื่องทุกวัน คุณแม่สามารถอาบน้ำ ด้วยน้ำอุ่นๆ หรือแช่ตัวในน้ำอุ่นๆจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายขึ้น พยายามอยู่ในท่านั่ง ท่ายืนที่ร่างกายสมดุล โดยนั่งให้ชิดพนักพิง-นั่งหลังตรง เวลายืนให้ยืดหลังตรง หลีกเลี่ยงกิจกรรมต้องก้มๆเงยๆ หรือบิดตัวบ่อยๆ เวลานอนก็ให้ใช้หมอนนุ่มๆมารองไว้ที่หัวเข่ากับขาคุณแม่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ได้ แล้วหาหมอนอีกใบมารองไว้ที่ท้องด้วยจะช่วยลดน้ำหนักที่ต้องแบกรับได้คะ

อีกอาการที่มาพร้อมกับความอุ้ยอ้าย ก็คือตะคริวคะ คุณแม่มักเป็นตะคริวที่ขา ซึ่งต้องแบกรับน้ำหนักมากกว่าเดิมเยอะเลยในเวลาไม่กี่สัปดาห์ และมักจะเป็นตะคริวช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน แก้ไขโดยการเหยียดขาให้ตึงตั้งแต่ขาจนถึงปลายนิ้วเท้าให้มากที่สุด หลังจากนั้นก็อาจจะเปลี่ยนมาเป็นเดินให้เลือดหมุนเวียนขึ้น แล้วก็นวดเบาๆ หรือประคบด้วยความร้อนจะช่วยคลายอาการตะคริวได้ค่ะ

 

เดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์

ใกล้ถึงเดือนสุดท้ายแล้ว เจ้าตัวน้อยของเราตอนนี้ น้ำหนักประมาณ 1.7 กิโลกรัม และขนาดตัวก็ยาว 16.7 นิ้วแล้วคะ ผิวมีไขมันสะสมมากขึ้น ทำให้ผิวที่เคยเหี่ยวย่นค่อยๆนุ่ม และเรียบเนียนขึ้น มีเล็บมือ เล็บเท้า และเส้นผมขึ้นอย่างเต็มที่ ขาจะสามารถขยับหัวหมุนไปด้านข้างได้แล้ว ในช่วงเดือนนี้ เจ้าตัวน้อยจะกลับหัว เพื่อให้พร้อมกันการคลอดในเดือนถัดไป แต่ก็ยังสามารถตีลังการ หรือกลับตัวขึ้นๆลงๆบ้าง ยิ่งเจ้าตัวดิ้น หรือเตะมากแค่ไหน ก็แสดงว่าเขาแข็งแรงมากคะ ^^

ที่สำคัญ ร่างกายของเขากำลังต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตมากมายและอย่างต่อเนื่องด้วยคะ โดยเฉพาะโปรตีน วิตามินซี กรดโฟลิค และธาตุเหล็ก เพราะกระดูกกำลังต้องการแคลเซียม  เพื่อช่วยให้กระดูกแข็งแรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรจะดื่มนมที่มีส่วนผสมของแคลเซียมให้เพียงพอ รวมถึงทานอาหารอื่นๆที่มีแคลเซียมที่จำเป็นกับร่างกาย เช่น ชีส โยเกริ์ต น้ำส้มด้วยยิ่งดีค่ะ

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ อาการเจ็บหน้าอกและท้องผูกที่เคยเป็นช่วงแรกๆตอนตั้งท้อง อาจจะกลับมาอีกครั้ง และมีอาการท้องอืด ปวดท้อง เวลาทานอาหารมื้อใหญ่ๆ เพราะมีแก๊สในกระเพาะ หลังจากนั้นก็อาจจะรู้สึกเจ็บแน่นหน้าอกตามมา ดังนั้นคุณแม่ควรทานเป็นมื้อย่อยๆ แต่บ่อยขึ้นอีกครั้งคะ ช่วงท้องเริ่มกดทับทำให้ขาแยกออกจากกันมากขึ้น โดยเฉพาะเวลายืน เพราะท้องมาค้ำอยู่ ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกเหมือนมดลูกหดเกร็งและคลายตัวเป็นระยะๆมากขึ้น การปวดเกร็งแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 30 วินาที แต่ถ้ามดลูกบีบตัวมากกว่า 4 ครั้งต่อชั่วโมงหรือถ้าเริ่มมีน้ำหรือมีเมือกเหลวๆ หรือเลือดไหลออกจากช่องคลอดต้องรีบปรึกษาคุณหมอทันทีนะคะ

คุณหมออาจจะให้เราเริ่มนับจำนวนการเตะของเจ้าตัวน้อยในแต่ละวัน ถ้าเขาเริ่มเตะน้อยลงจนผิดสังเกตต้องรีบปรึกษาคุณหมอด่วนเลยคะ เพราะอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับเจ้าตัวน้อยของเราเข้าแล้ว

 

เดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์

และแล้ว เดือนที่รอคอยก็มาถึงแล้วคะ ^^ ในช่วงเดือนนี้ ร่างกายเจ้าตัวน้อยและระบบต่างๆ ค่อนข้างสมบูรณ์ พร้อมที่จะออกมาเผชิญโลกภายนอกแล้ว น้ำหนักเขาขึ้นมาเป็น 2.5 กิโลกรัม หรือ มากกว่า ขนาดตัวยาวมากกว่า 18 ½ นิ้ว ผิวหนังยังเหมือนมีขี้ผึ้งบางๆเคลือบอยู่ เพื่อป้องกันผิวของเขาหลังจากคลอดออกมาแล้ว ไขมันเริ่มสะสมอยู่ใต้ผิวหนังมากขึ้นเป็นการเตรียมพร้อมให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกอบอุ่นตอนออกไปเจอโลกภายนอก ในสัปดาห์ที่ 36 เจ้าตัวน้อยจะต้องกลับหัวแล้ว ถ้าเขายังไม่ยอมกลับหัวลง คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ผ่าคลอด แทนการคลอดแบบธรรมชาติคะ โดยปกติแล้ว คุณแม่จะปวดท้องคลอด ในช่วง 37-42 สัปดาห์ คะ ^^

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ เดือนสุดท้ายนี้ คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดเต็มที่ เพราะเจ้าตัวน้อยจะกินพื้นที่หน้าท้องของเราจนเกือบเต็มแล้ว ดังนั้น คุณแม่ควรพยายามหาท่านั่ง ท่านอนที่ทำให้เรารู้สึกสบายตัวที่สุดเอาไว้นะคะ ช่วงนี้เริ่มมีอาการปวดและชาๆที่นิ้วมือ ข้อมือ และมือบ้าง แก้ไข โดยพยายามเหยียดให้ตึงบ่อยๆ โดยเฉพาะที่นิ้วมือและข้อมือ แช่มือในน้ำอุ่นตอนเช้าสัก 5 -10 นาทีจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้อาการปวดและชาจะดีขึ้นคะ ขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้ตอนกลางคืน คุณแม่นอนหลับไม่สนิทเท่าที่ควร แถมยังปวดท้องฉี่ถี่ขึ้นเรื่อยๆ พอตื่นเช้ามาก็เลยเหมือนยังนอนหลับไม่พอ อาจต้องอาศัยช่วงกลางวัน งีบสักนิดแทนคะ  ช่วงนี้ให้เรางดกิจกรรมต่างๆที่ต้องออกแรงให้น้อยลงด้วย

ช่วงนี้เราคงต้องไปพบคุณหมอทุกสัปดาห์ และต้องตรวจเช็คหาเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Group B streptococci หรือ (GBS) ซึ่งเชื้อนี้อาจถ่ายทอดไปสู่เจ้าตัวน้อยได้ระหว่างตั้งท้อง เหมือนกับอาการปอดบวม เนื้อเยื่ออักเสบ และเลือดติดเชื้อ เพราะ 10 ใน 30 เปอร์เซนต์ของผู้หญิงท้องไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อแบคทีเรียนี้อยู่ในตัว ถ้ามีเชื้อนี้อยู่จริงๆก็สามารถฉีดวัคซีนระหว่างที่ท้องได้ และยังช่วยป้องกันไม่ให้เจ้าตัวน้อยของเราติดเชื้อแบคทีเรียนี้ด้วยค่ะ

ในสัปดาห์ ที่ 36  อาการเจ็บท้องเตือนเริ่มมีมากขึ้นอาจเกิดขึ้น 5 นาที ในทุกๆชั่วโมง ให้เราคอยสังเกตอาการน้ำเดินว่าเกิดขึ้นหรือยัง และยิ่งใกล้คลอด คุณแม่จำเป็นต้องมีคนอยู่ใกล้ชิดเรา เพราะเราไม่รู้ถุงน้ำคร่ำจะแตกเมื่อไหร่ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆเกิดขึ้นอีก เช่น เลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย เป็นไข้ ปวดหัวแบบรุนแรง และปวดกล้ามเนื้อค่ะ อาการเจ็บท้องเตือนชักถี่ขึ้นเรื่อยๆ และเจ็บแต่ละครั้งก็นานขึ้นนะคะ ถ้ามีน้ำเดิน หรือ มีเลือดออก ให้รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดคะ เพราะนาทีที่จะได้พบหน้าเจ้าต้วน้อย กำลังมาถึงแล้ว คร้า (^O^) ยินดีกับคุณแม่ด้วยจร้า ^^

 

บทความโดย : www.babekits.com